Home

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี (หลักสูตรนานาชาติ)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เคมี)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย): ปร.ด. (เคมี)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Doctor of Philosophy (Chemistry)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): Ph.D. (Chemistry)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

หลักสูตรแบบ 1.1 เป็นผู้สำเร็จปริญญามหาบัณฑิตหรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงในสาขาวิชาเคมี และมีพื้นความรู้ความสามารถและศักยภาพเพียงพอที่จะทำดุษฎีนิพนธ์ได้ หลักสูตรแบบ 2.1 เป็นผู้สำเร็จปริญญามหาบัณฑิตหรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงในสาขาวิชาที่สัมพันธ์กับสาขาวิชาเคมี และมีพื้นความรู้ความสามารถและศักยภาพเพียงพอที่จะทำดุษฎีนิพนธ์ได้

หลักสูตรแบบ 2.2 เป็นผู้สำเร็จปริญญาบัณฑิตหรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรบัณฑิตในสาขาวิชาเคมี โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 และมีพื้นความรู้ความสามารถและศักยภาพเพียงพอที่จะทำดุษฎีนิพนธ์ได้ หรืออยู่ในดุลพินิจของผู้รับผิดชอบหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี นักศึกษาที่ได้ศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี หลักสูตรนานาชาติ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) ขอเปลี่ยนไปศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตได้ หากมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม 3.50 ขึ้นไป และมีความก้าวหน้าของงานวิจัยอยู่ในระดับดีมาก และ/หรือ อยู่ในดุลพินิจของผู้รับผิดชอบหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

หลักสูตร แบบ 1.1 มีผลงานวิจัยตีพิมพ์หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการไม่น้อยกว่า 2 เรื่อง โดยผลงานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่องต้องได้รับการตีพิมพ์หรือยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติที่มีการตรวจสอบ (peer review) ซึ่งเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับ เช่น Scopus เป็นต้น และมี impact factor และผลงานวิจัยอย่างน้อยอีก 1 เรื่องต้องได้รับการตีพิมพ์หรือยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติหรือวารสารวิชาการระดับชาติที่มีการตรวจสอบ และได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

หลักสูตร แบบ 2.1 มีผลงานวิจัยตีพิมพ์หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการไม่น้อยกว่า 2 เรื่อง โดยผลงานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่องต้องได้รับการตีพิมพ์หรือยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติที่มีการตรวจสอบ (peer review) ซึ่งเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับ เช่น Scopus เป็นต้น และมี impact factor และผลงานวิจัยอย่างน้อยอีก 1 เรื่องต้องได้รับการตีพิมพ์หรือยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติหรือวารสารวิชาการระดับชาติที่มีการตรวจสอบ และได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

หลักสูตร แบบ 2.2 มีผลงานวิจัยตีพิมพ์หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ ที่มีการตรวจสอบ (peer review) และเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับ เช่น Scopus เป็นต้น และมี impact factor ไม่น้อยกว่า 2 เรื่อง และได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

ติดต่อ

สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
โทร. 0 4300 9700 ต่อ 42174
โทรสาร 0 4320 2373

IMAGES GALLERY

NEWSLETTER