ผลงานวิจัย

Research Highlight งานวิจัยเด่น ของ สาขาวิชาเคมี คณะวิทย์ มข.

สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันนี้ขอนำเสนอผลงานวิจัยทางเคมี ในการใช้น้ำมันพืชเป็นตัวทำละลายชีวภาพในปฏิกิริยาเคมีหลายองค์ประกอบ เพื่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยทีมวิจัยจากกลุ่มวิจัยเคมีสีเขียว (Green Chemistry Research Group) งานนี้มีผู้ร่วมวิจัยทั้งหมด 4 คน โดย อ.ดร.แอนดรู ฮันท์ ดร.ภาคิน นพวรรณ์ ผศ.ดร.นนทิภา สุพพรณไชยมาตย์ และ นายสุวิวัฒน์ แสงอ่อน ทุกท่านสามารถศึกษาและสืบค้นเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ได้ตามลิ้งเปเปอร์ข้างล่างนี้ งานวิจัยกลุ่ม Green Chemistry Research Unit


Research Highlight งานวิจัยเด่น ของ สาขาวิชาเคมี คณะวิทย์ มข.

สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนำเสนอผลงานวิจัยทางเคมีในการใช้สารซิงค์ออกไซด์ซึ่งสังเคราะห์โดยใช้สารสกัดจากต้นสักขี โดยมีทีมวิจัยร่วมกันสามคนได้แก่ รศ.ดร.สุวัตร นานันท์ รศ.ดร.ฉวี เย็นใจ และ นักศึกษาปริญญาเอก นายธรรมนูญ ชาญขนิษฐา ซึ่งสารสังเคราะห์ซิงค์ออกไซด์นี้สามารถเป็นตัวเร่งปฎิกิริยาในการกำจัดสีย้อมและยาปฎิชีวนะที่อาจปนเปื้อนในแหล่งน้ำธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทุกท่านสามารถศึกษาและสืบค้นเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ได้ตามลิ้งเปเปอร์นี้ งานวิจัยกลุ่ม รศ.ดร.สุวัตร นานันท์ รศ.ดร.ฉวี เย็นใจ และ นายธรรมนูญ ชาญขนิษฐา


Research Highlight งานวิจัยเด่น ของ สาขาวิชาเคมี คณะวิทย์ มข.

#ResearchUpdateChemistryKKU #ResearchHighlightChemKKU2021 สวัสดีครับ/ค่ะ สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันนี้ขอนำเสนออีก 1 นวัตกรรมงานวิจัยทางเคมีในการผลิตเซนเซอร์เชิงแสงของทีมกลุ่มวิจัย ศ.ดร.สุจิตรา ยังมี และ ดร.จินตนา โอ่ทอง" โดยเซนเซอร์นี้ผลิตจากวัสดุโครงข่ายโลหะอินทรีย์ (MOF) ผสมกับเยื่อพอลิเมอร์เมมเบรนในการตรวจวัดสารอันตรายจำพวกเอมีนโดยใช้สมบัติเชิงแสงฟลูออเรสเซนซ์ ซึ่งเซนเซอร์นี้สามารถตรวจวัดปริมาณของสารประกอบเอมีนได้อย่างง่ายดายเพียงใช้การสแกนจากโทรศัพท์สมาร์ทโฟนครับ/ค่ะ ทุกท่านสามารถศึกษาและสืบค้นเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ได้ตามลิ้งเปเปอร์ข้างล่างนี้ งานวิจัยกลุ่ม ศ.ดร.สุจิตรา ยังมี และ ดร.จินตนา โอ่ทอง


งานวิจัยเด่น ของ สาขาวิชาเคมี คณะวิทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนำงานวิจัยที่เป็นนวัตกรรมทางเคมี "เซนเซอร์เชิงแสงอย่างง่าย สำหรับการตรวจวัดน้ำที่มีปริมาณน้อย โดยใช้วัสดุโครงข่ายโลหะอินทรีย์หรือ มอฟ (MOF) เป็นงานวิจัยในกลุ่มวิจัยของ ศ.ดร.สุจิตรา ยังมี และ ดร.จินตนา โอ่ทอง" เพื่อให้ง่ายและรวดเร็วต่อการใช้งานจริง คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเป็นเซนเซอร์บนแผ่นกระดาษ (test-strip paper) ผู้ใช้งานสามารถทราบปริมาณน้ำได้ทันทีเพียงใช้สมาร์ทโฟนถ่ายภาพของ test-strip paper ซึ่งเซนเซอร์นี้จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมที่ต้องการควบคุมปริมาณน้ำในผลิตภัณฑ์ เช่น อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ทุกท่านสามารถศึกษาและสืบค้นเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ได้ตามลิ้งเปเปอร์ข้างล่างนี้ งานวิจัยกลุ่ม ศ.ดร.สุจิตรา ยังมี


Research Highlight งานวิจัยเด่น ของ สาขาวิชาเคมี คณะวิทย์ มข.

สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนำงานวิจัยที่เป็นนวัตกรรมทางเคมี "เซนเซอร์เชิงแสงอย่างง่าย สำหรับการตรวจวัดน้ำที่มีปริมาณน้อย โดยใช้วัสดุโครงข่ายโลหะอินทรีย์หรือ มอฟ (MOF) เป็นงานวิจัยในกลุ่มวิจัยของ ศ.ดร.สุจิตรา ยังมี และ ดร.จินตนา โอ่ทอง" เพื่อให้ง่ายและรวดเร็วต่อการใช้งานจริง คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเป็นเซนเซอร์บนแผ่นกระดาษ (test-strip paper) ผู้ใช้งานสามารถทราบปริมาณน้ำได้ทันทีเพียงใช้สมาร์ทโฟนถ่ายภาพของ test-strip paper ซึ่งเซนเซอร์นี้จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมที่ต้องการควบคุมปริมาณน้ำในผลิตภัณฑ์ เช่น อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ทุกท่านสามารถศึกษาและสืบค้นเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ได้ตามลิ้งเปเปอร์ข้างล่างนี้ งานวิจัยกลุ่ม ศ.ดร.สุจิตรา ยังมี


Research Highlight งานวิจัยเด่น ของ สาขาวิชาเคมี คณะวิทย์ มข.

สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนำเสนอนวัตกรรมทางเคมี ซึ่งเป็นงานในกลุ่มวิจัยของ ผศ.ดร.ศิรินันท์ กุลชาติ "เซนเซอร์เชิงแสงอย่างง่าย ที่มีความว่องไวและจำเพาะเจาะจงสูงต่อการตรวจวัดไอออนโลหะโคบอลต์ ในงานวิจัยนี้ได้ใช้แกรฟีนควอนตัมดอทที่เจือด้วยไนโตรเจนและซัลเฟอร์อะตอมเป็นตัวให้สัญญาณเชิงแสงฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งโคบอลต์สามารถเกิดอันตรกิริยากับแกรฟีนควอนตัมดอทได้ ส่งผลให้ความเข้มในการคายแสงฟลูออเรสเซนส์ของควอนตัมดอทลดลง และสามารถสังเกตได้ง่ายด้วยตาเปล่าจากการเปลี่ยนแปลงสีของสารละลายภายในเวลาเพียง 3 นาที นอกจากนี้ระบบเซนเซอร์นี้ยังมีความเป็นพิษต่อเซลล์ที่ต่ำ ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานทางด้านชีวภาพและสิ่งแวดล้อมต่อไปได้ในอนาคต" ทุกท่านสามารถศึกษาและสืบค้นเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ได้ตามลิ้งเปเปอร์ข้างล่างนี้ งานวิจัยกลุ่ม ผศ.ดร.ศิรินันท์ กุลชาติ


Research Highlight งานวิจัยเด่น ของ สาขาวิชาเคมี คณะวิทย์ มข.

#ResearchUpdateChemistryKKU #ResearchHighlightChemKKU2021 ทางสาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนำเสนอนวัตกรรมทางเคมี การผลิตอุปกรณ์เซนเซอร์วัดสีชนิดใหม่โดยใช้เทคนิคตัวทำละลายดีพยูเทคติกร่วมกับไดไทโซน จากกลุ่มวิจัยของ ผศ.ดร. ศิริบูรณ์ มุกดาใส ครับ/ค่ะ อุปกรณ์เซนเซอร์วัดสีนี้สามารถนำไปใช้ตรวจวัดปริมาณตะกั่วในอาหารได้ ร่วมกับอุปกรณ์สมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว ทำได้ง่าย และ ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมครับ/ค่ะ หากสนใจสามารถศึกษาและสืบค้นเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ได้ตามลิ้งเปเปอร์ข้างล่างนี้ งานวิจัยกลุ่ม ผศ.ดร.ศิริบูรณ์ มุกดาใส


Research Highlight งานวิจัยเด่น ของ สาขาวิชาเคมี คณะวิทย์ มข.

สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนำเสนอนวัตกรรมทางเคมี ที่เป็นเซนเซอร์ทางไฟฟ้าเคมีสำหรับการตรวจวัดยาปฏิชีวนะไซโปรฟลอกซาซิน ซึ่งเป็นงานวิจัยของ ผศ.ดร.ศิริบูรณ์ มุกดาใส และ นางสาวเนตรศิรินทร์ กฤษวงศ์" ในงานวิจัยนี้ได้พัฒนาอิเล็กโทรดที่มีความไวสูง จากถ่านกัมมันต์ที่สังเคราะห์จากกากกาแฟ และอนุภาคระดับนาโนทองคำ ร่วมกับการใช้ตัวทำละลายซุปปราโมเลคิวลาร์ที่เตรียมจากสารลดแรงตึงผิว เซนเซอร์นี้สามารถตรวจวัดยาปฏิชีวนะไซโปรฟลอกซาซินในตัวอย่างนมและตัวอย่างเม็ดยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ" ทุกท่านสามารถศึกษาและสืบค้นเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ได้ตามลิ้งเปเปอร์ข้างล่างนี้ งานวิจัย เด่น ของ ผศ.ดร.ศิริบูรณ์ มุกดาใส


Research Highlight งานวิจัยเด่น ของ สาขาวิชาเคมี คณะวิทย์ มข.

สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนำเสนอนวัตกรรมทางเคมีในการคิดค้นวิธีใช้ตัวทำละลายดีฟยูเทศติกร่วมกับการใช้ฟองน้ำ เพื่อกำจัดสารมลพิษในการเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นงานในกลุ่มวิจัยของ "ศ.ดร.ศุภลักษณ์ ศรีจารนัย และ นางสาวเนตรศิรินทร์ กฤษวงศ์" ในงานวิจัยนี้ การใช้ตัวทำละลายดีฟยูเทคติกร่วมกับฟองน้ำ จะสามารถกำจัดสีย้อมและยาฆ่าแมลงออกาโนฟอสฟอรัสที่มีสะสมมากในน้ำและดิน ได้อย่าง่ายดาย งรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทุกท่านสามารถศึกษาและสืบค้นเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ได้ตามลิ้งเปเปอร์ข้างล่างนี้ งานวิจัยกลุ่ม ศ.ดร.ศุภลักษณ์ ศรีจารนัย


Research Highlight งานวิจัยเด่น ของ สาขาวิชาเคมี คณะวิทย์ มข.

สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนำเสนอ นวัตกรรมทางเคมีในการออกแบบสารเพื่อใช้กำจัดสารมลพิษอินทรีย์ในแหล่งน้ำ โดยสังเคราะห์มาจากสารกึ่งตัวนำซิงค์ออกไซด์นาโนที่ตกแต่งบนพื้นผิวของบิสมัทโมลิบเดต ซึ่งเป็นงานในกลุ่มวิจัยของ "รศ.ดร.สุวัตร นานันท์ และ นักศึกษาระดับปริญญาเอก นายธรรมนูญ ชาญขนิษฐา" ในงานวิจัยนี้ทางกลุ่มวิจัยได้นำสารกึ่งตัวนำซิงค์ออกไซด์ (ZnO) และบิสมัทโมลิบเดต (Bi2MoO6) มาเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงแบบนาโนคอมโพสิตเพื่อใช้กำจัดสารมลพิษอินทรีย์ในแหล่งน้ำ เช่น ยาปฏิชีวนะและสีย้อมภายใต้แสงที่มองเห็นได้และแสงอาทิตย์ พบว่ากระบวนการข้างต้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยสามารถกำจัดสารมลพิษได้ 100% ในเวลาเพียงแค่ 4 ชั่วโมง และยังสามารถนำสารนี้ มาใช้ซ้ำได้ โดยที่ยังคงประสิทธิภาพสูง ทุกท่านสามารถศึกษาและสืบค้นเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ได้ตามลิ้งนี้ " งานวิจัยกลุ่ม รศ.ดร.สุวัตร นานันท์


Research Highlight งานวิจัยเด่น ของ สาขาวิชาเคมี คณะวิทย์ มข.

"ทีมนักวิจัยจากสาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในกลุ่มวิจัยของ ผศ.ดร.ศิรินันท์ กุลชาติ และ ดร.ชานนธ์ ตลอดไธสง ได้พัฒนาและสังเคราะห์สารต้านเชื้อแบคเรียชนิดก่อโรค เช่น E. coli และ S. aureus โดยได้สังเคราะห์อนุภาคซิงค์ออกไซด์นาโน โดยใช้กาบาซึ่งเป็นสารสื่อประสาท และอนุพันธ์ของขมิ้น พร้อมทั้งใช้อนุภาคเงินนาโนเป็นส่วนผสม พบว่าสารที่สังเคราะห์ได้มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียก่อโรค เช่น เชื้อ E. coli และ S. aureus ได้เป็นอย่างดี และสามารถใช้เป็นยาทางเลือกเพื่อการรักษาโรคที่เกี่ยวกับการติดเชื้อ หรือจะนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมในอนาคตก็ได้" ทุกท่านสามารถศึกษาและสืบค้นเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ได้ตามลิ้งข้างล่างนี้ https://doi.org/10.3390/nano11020442


Research Highlight งานวิจัยเด่น ของ สาขาวิชาเคมี คณะวิทย์ มข.

สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนำเสนอนวัตกรรมทางเคมีในการออกแบบสารเพื่อตรวจวัดสารอันตราย ซึ่งเป็นงานในกลุ่มวิจัยของ "ศ.ดร.สุจิตรา ยังมี และ ผศ.ดร.เจ้าทรัพย์ บุญมาก และ ผู้ช่วยวิจัยระดับหลังปริญญาเอก ดร.เทียนชัย วิวาสุขุ" ในงานวิจัยนี้ทางกลุ่มวิจัยได้นำโมเลกุลโครงข่ายของโลหะและสารอินทรีย์ (Metal Organic Framework or MOF) ชนิดใหม่มาใช้เป็นเป็นฟลูออเรสเซนซ์เซนเซอร์ ในการตรวจวัด สารกำจัดวัชพืชไกลโฟเซต และ สารอันตรายอย่างไอออนโครเมียม ได้แม้ในความเข้มต่ำ เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ยังไม่เคยมีการรายงานมาก่อน และสามารถนำไปประยุกต์ต่อยอดได้ในอุตสาหกรรม การแพทย์ และการเกษตรต่อไป ทุกท่านสามารถศึกษาและสืบค้นเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ได้ตามลิ้งข้างล่างนี้ งานวิจัยกลุ่ม ศ.ดร.สุจิตรา ยังมี และ ผศ.ดร.เจ้าทรัพย์ บุญมาก


ติดต่อ

สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
โทร. 0 4300 9700 ต่อ 42174
โทรสาร 0 4320 2373

IMAGES GALLERY

NEWSLETTER